วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555


ปาล์น้ำมัน


ปาล์มน้ำมัน
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง ซึ่งเหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนชื้น อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ดังนั้นปาล์มน้ำมันจึงเจริญเติบโตได้ดีในภาคใต้ของประเทศ บริเวณพื้นที่ที่ปลูกมากที่สุด คือจังหวัดกระบี่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร สตูลและตรัง ทั้งนี้เนื่องจากผลตอบแทนการปลูกปาล์มน้ำมันดีกว่าการปลูกพืชชนิดอื่น
การปลูกปาล์มน้ำมัน
การปลูกปาล์มน้ำมันควรกำหนดเวลาให้ตรงกับช่วงฤดูฝน เพราะปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการอยู่รอด และเจริญเติบโตของต้นกล้าปาล์มน้ำมันคือ ความชื้นในดิน ฤดูฝนในภาคใต้ของประเทศไทยจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ตุลาคม แต่ฤดูปลูกที่เหมาะสม อยู่ในระหว่างเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน อายุต้นกล้าที่ใช้ปลูก อายุที่เหมาะสมคือ 10 - 12 เดือน การขนย้ายต้นปาล์มน้ำมัน ควรใช้รถบรรทุก เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือน และคำนึงถึงความระมัดระวังในการเคลื่อนย้ายด้วย
การบำรุงรักษาสวนปาล์มน้ำมัน
1. การป้องกันและการกำจัดวัชพืช วัชพืชในสวนปาล์มน้ำมัน ในช่วงฤดูแล้ง ไม่ควรกำจัดวัชพืชเพราะทำให้ดินขาดความชุ่มชื่น 
2. การใส่ปุ๋ย ควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น ปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินเดิม ความต้องการของปาล์มน้ำมันในระยะต่าง ๆ สภาพแวดล้อมลมฟ้าอากาศ ชนิดของปุ๋ยอัตราการใช้
3. การป้องกันกำจัดโรคแมลง ไม่ควรพ่นสารเคมีทันที เมื่อพบศัตรูพืชเพราะนอกจากจะเสียค่าใช้จ่ายสูงแล้ว ยังทำลายศัตรูธรรมชาติที่เป็นประโยชน์อีกด้วย ควรสุ่มตัวอย่าง เช่น ตัดทางใบที่ 17 ตรวจนับหนอนร่าน ถ้าพบมีมากกว่า 5 ตัว ต่อทางใบโดยเฉลี่ย จึงควรป้องกันกำจัดโดยพ่นสารเคมี
4. การตัดช่อดอก ในระยะเริ่มการเจริญเติบโต การตัดช่อดอกตัวผู้และตัวเมีย ทิ้งในระยะแรก มีผลทำให้ต้นปาล์มเจริญเติบโตเร็ว แข็งแรง และมีขนาดใหญ่ เพราะอาหารที่ได้รับจะเสริมส่วนของลำต้น แทนการเลี้ยงช่อดอกและผลผลิต เมื่อถึงระยะให้ผลผลิตที่ต้องการ ผลผลิตจะมีขนาดใหญ่ และสม่ำเสมอ ถ้าไม่ตัดปล่อยทิ้งไว้ไม่เก็บเกี่ยว อาจเป็นแหล่งของเชื้อโรค โดยเฉพาะโรคทะลายเน่าได้



การใส่ปุ๋ยเคมีปาล์มน้ำมัน
ใส่ปุ๋ยเมื่อดินมีความชื้นเพียงพอ หลีกเลี่ยงการใส่เมื่อแล้งจัดหรือฝนตกหนัก ในปีแรกหลังจากปลูกควรใส่ปุ๋ย 4-5 ครั้ง ตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป ควรใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง/ปี ช่วงที่เหมาะสมในการใส่คือ ต้นฝน กลางฝน และปลายฝน ตั้งแต่ปีที่ 5 ขึ้นไป อาจพิจารณาใส่ปุ๋ยเพียงปีละ 2 ครั้ง ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมบ่งใส่ปุ๋ย (ตามอัตราที่แนะนำ) เมื่อแบ่งใส 3 ครั้ง/ปี แนะนำให้ใช้สัดส่วน 50:25:25% สำหรับการใส่ปุ๋ย ต้นฝน กลางฝน และปลายฝน และเมื่อแบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี ใช้สัดส่วน 60:40% ระยะต้นฝนและก่อนปลายฝน ตามลำดับ
ช่วงต้นฝน คือ ประมาณเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน
ช่วงกลางฝน คือ ประมาณเดือนกรกฎาคม - กันยายน
ช่วงหลายฝน คือ ประมาณเดือนตุลาคม พฤศจิกายน

วิธีการเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมัน
1.วิธีการเก็บเกี่ยวผลปาล์มสด รวมถึงการรวมผลปาล์มส่งโรงงาน ซึ่งมีขั้นตอนโดยทั่วไปดังนี้
- ตกแต่งช่องทางลำเลียงระหว่างแถวปาล์มในแต่ละแปลงให้เรียบร้อย สะดวกกับการตัด การลำเลียง และการตรวจสอบทะลายปาล์มที่ตัด แล้วออกสู่แหล่งรวม หรือศูนย์รวมผลปาล์มที่กำหนดขึ้นแต่ละจุดภายในสวน
*ข้อควรระวังในการตกแต่งช่องทางลำเลียงปาล์ม คือจะต้องไม่ตัดทางปาล์มออกอีก เพราะถือว่าการตกแต่งทางปาล์มได้กระทำไปตามเทคนิคและขั้นตอนแล้ว หากมีทางใบอันใดกีดขวาง ก็อาจดึงหรือแหวกให้สะดวกในการทำงาน
- สำหรับกองทางใบที่ตัดแล้วอย่าให้กีดขวางทางเดิน หรือปิดกั้นทางระบายน้ำจะทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ระบายน้ำที่ขังตามทางเดิน
- คัดเลือกทะลายปาล์มสุกโดยยึดมาตรฐานจากการดูสีของผล ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง และจำนวนผลสุกที่ร่วงหล่นลงบนดินประมาณ 10-12 ผล ให้ถือเป็นผลปาล์มสุกที่ใช้ได้
- หากปรากฎว่าทะลายปาล์มสุกที่จะคัดมีขนาดใหญ่ ที่ติดแน่นกับลำต้นมาก ไม่สะดวกกับการใช้เสียมแทงเพราะจะทำให้ผลร่วงมาก ก็ใช้มีดขอหรือมีดด้ามยาวธรรมดา ตัดแซะขั้วทะลายกันเสียก่อน แล้วจึงใช้เสียมแทงทะลายปาล์มก็จะหลุดออกจากคอต้นปาล์มได้ง่ายขึ้น
- ให้ตัดแต่งขั้วทะลายปาล์มที่ตัดออกมาแล้วให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อสะดวกในการขนส่ง หรือเมื่อถึงโรงงาน ทางโรงงานก็จะบรรจุลงในถังต้มลูกปาล์มได้สะดวก
- รวบรวมผลปาล์มทั้งที่เป็นทะลายย่อยและลูกร่วงไว้เป็นกอง ในที่ว่างโคนต้นเก็บผลปาล์มร่วงใส่ตะกร้าหรือเข่ง
- รวบรวมผลปาล์มทั้งทะลายสดและผลปาล์มร่วงไปยังศูนย์รวมผลปาล์มในกองย่อย เช่น ในกระบะบรรทุก ที่ลากด้วยแทรกเตอร์หรือรถอีแต๋น
- การเก็บเกี่ยวผลปาล์ม ฝ่ายสวนจะต้องสนับสนุนให้ผู้เก็บเกี่ยวร่วมทำงานกันเป็นทีม ในทีมก็แยกให้เข้าคู่กัน 2 คน คนหนึ่งตัดหรือแทงปาล์ม อีกคนเก็บรวบรวมผลปาล์ม
- การเก็บรวบรวมผลปาล์ม พยายามลดจำนวนครั้งในการถ่ายเทย่อย ๆ เมื่อผลปาล์มชอกช้ำ มีบาดแผล ปริมาณของกรดไขมันอิสระจะเพิ่มมากขึ้น การส่งปาล์มออกจากสวน ควรมีการตรวจสอบลงทะเบียน มีตาข่ายคลุม เพื่อไม่ให้ผลปาล์มร่วงระหว่างทาง
2. มาตรฐานในการเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมัน จะต้องไม่ตัดผลปาล์มดิบไปขาย เพราะจะถูกตัดราคา จะต้องไม่ปล่อยให้ผลสุกคาต้นเกินไป
3. ต้องเก็บผลปาล์มร่วงบนพื้นให้หมด
4. ต้องไม่ทำให้ผลปาล์มที่เก็บเกี่ยวมีบาดแผล
5. ต้องคัดเลือกทะลายเปล่าหรือเขย่าผลที่มีอยู่น้อยออกแล้วทิ้งทะลายเปล่าไป
6. ตัดขั้วทะลายให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้
7. ต้องทำความสะดวกผลปาล์มที่เปื้อนดิน อย่าให้มีเศษหินดินปน
8. ต้องรีบส่งผลปาล์มไปยังโรงงานโดยไม่ชักช้า


ข้อควรปฏิบัติในการเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มน้ำมัน
1.ตัดทะลายปาล์มน้ำมันที่สุกพอดี คือทะลายปาล์มเริ่มมีผลร่วง ไม่ควรตัดทะลายที่ยังดิบอย ู่เพราะในผลปาล์มดิบยังมีสภาพเป็นน้ำและแป้งอยู่ ยังไม่แปรสภาพเป็นน้ำมัน ส่วนทะลายที่สุกเกินไป จะมีกรดไขมันอิสระสุก และผลปาล์มสดอาจมีสารบางชนิดอยู่ อาจเป็นอันตรายกับผู้บริโภคได้
2.รอบของการเก็บเกี่ยวในช่วงผลปาล์มออกชุก ควรจะอยู่ในช่วง 7-10 วัน
3.ผลปาล์มลูกร่วงที่อยู่บริเวณโคนปาล์มน้ำมัน และที่ค้างในกาบต้นควรเก็บออกมาให้หมด
4.ก้านทะลายควรตัดให้สั้นโดยต้องให้ติดกับทะลาย
5.พยายามให้ทะลายปาล์มชอช้ำน้อยที่สุด

การกำหนดคุณภาพของผลปาล์มทั้งทะลายที่มีคุณภาพดี
1.ความสด เป็นผลปาล์มที่ตัดแล้วส่งถึงโรงงานภายใน 24 ชั่วโมง
2.ความสุก ทะลายปาล์มสุกที่มีมาตรฐาน คือ ลูกปาล์มชั้นนอกสุดของทะลายหลุดร่วงจากทะลาย
3.ความสมบูรณ์ ลูกปาล์มเต็มทะลายและเห็นได้ชัดว่าได้รับการดูแลรักษาอย่างดี
4.ความชอกช้ำ ไม่มีทะลายที่ชอกช้ำและเสียหายอย่างรุนแรง
5.โรค ไม่มีทะลายเป็นโรคใด ๆ หรือเน่าเสีย
6.ทะลายสัตว์กิน ไม่มีทะลายสัตว์กินหรือทำความเสียหายแก่ผลปาล์ม
7.ความสกปรกไม่มีสิ่งสกปรกเจือปน เช่น ดิน หิน ทราย ไม้กาบหุ้มทะลาย เป็นต้น
8.ทะลายเปล่า ไม่มีทะลายเจือปน
9.ก้านทะลาย ความยาวไว้เก็บ 2 นิ้ว
ศัตรูพืชที่สำคัญ

ตรูปาล์มน้ำมัน หมายถึง สิ่งที่ทำความเสียหายให้กับปาล์มน้ำมัน
ชนิดของศัตรูปาล์มน้ำมัน
1. สัตว์ศัตรูปาล์มน้ำมัน
2. แมลงศัตรูปาล์มน้ำมัน
3. โรค
สัตว์ศัตรูปาล์มน้ำมัน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
1. กลุ่มฟันแทะ : หากินบนพื้นดินหรือบนต้นไม้
1) หนูพุกใหญ่ = สีขนด้านท้อง และหลังสีเทาเข้ม
2) หนูท้องขาว = พบมากในสวนปาล์มอายุ 6 ปีขึ้นไป จัดเป็นศัตรูปาล์มน้ำมันที่สำคัญที่สุด มีลักษณะหน้าแหลม ใบหูใหญ่ ตาโต ตัวยาวเรียว ขนเรียบ ขนท้องสีเทา, น้ำตาลปนเทา
3) เม่น มี 2 ชนิด คือ
- เม่นใหญ่แผงคอยาว เป็นเม่นขนาดใหญ่ หางสั้ัน ขนปกคลุมตัวด้านหน้า สีน้ำตาลดำ ขนด้านหลังเป็นหนามแหลม ขนสีขาวแกมดำ
- เม่นหางพวง หางพวงมีเกล็ดและที่ปลายหางมีขนเป็นพวง
2.กลุ่มสัตว์กินแมลง
1 กระแตธรรมดา เป็นกระแตขนาดใหญ่ มีหางเป็นพวง สีขนจะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิ และความชื้นสูง สีขนจะเป็นสีแดง สดใส ถ้าอุณหภูมิและความชื้นต่ำ สีขนจะเป็นสีเทา หรือเทาน้ำตาล ใบหูเล็กหนาคล้ายหูคน
3.กลุ่มสัตว์จำพวกนก
นกสร้างความเสียหายโดยกินลูกปาล์ม ความเสียหายเกิดเฉพาะที่และจะเกิดซ้ำที่ เป็นนกตระกูลนกเอี้ยง และนกขุนทอง
4.กลุ่มสัตว์ป่าอื่น ๆ
หมูป่า





การใช้ประโยชน์
1. น้ำมันปรุงอาหาร
2. มาการีนหรือเนยเทียม
3. น้ำมันสำหรับทอด (Frying Fat)
4. เนยขาว
5. น้ำมันปาล์มเติมไฮโดรเจน (Hydrogenated Palm Oil)
6. นมข้นหวาน
7. ไอศกรีม
8. ครีมเทียมและนมเทียม
9. กรดไขมันอิสระ (Palm Fatty Acid Distilled PEAD)
10. สบู่